top of page

ศัลยกรรมแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร?

  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด

           เป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะดวงตาของเด็ก จะไม่มีรอยพับชั้นตา ลืมตาได้ไม่เต็มที่ เป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา หรือเกิดจากภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือมีความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง ทำให้เด็กมีภาวะหนังตาตกปิดตาดำมากกว่าปกติ ตาดูปรือ ลืมตาไม่ค่อยขึ้น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็ก อาจทำให้ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นน้อยกว่าอีกข้าง จากหนังตาตกทับดวงตา บังการมองเห็น ส่งผลให้สมองด้านนั้นไม่ได้รับการกระตุ้น จนอาจเกิดภาวะตาขี้เกียจและตาเอียงร่วมด้วย

  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในคนสูงวัย

           กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอายุเพิ่มขึ้น โครงสร้างผิวเปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อย กล้ามเนื้อเปลือกตาเสียความยืดหยุ่น จากการใช้งานเป็นเวลานาน ความแข็งแรงของเปลือกตาและกล้ามเนื้อยกเปลือกตาจะลดลง ออกแรงยกเปลือกตาได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตกทับตาดำมากกว่าปกติ จนเกิดปัญหาในการมองเห็น ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมติดเลิกคิ้ว และรอยย่นบริเวณหน้าผากตามมา

  •  กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน หรือคนที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการพักสายตา จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือการใส่คอนแทคเลนส์ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาถูกยืดออก จนเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้

  • การผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาด

           การทำตาสองชั้น ด้วยวิธีผูกปมไหมไม่ละลายไว้ใต้ผิวตา ในบางกรณี อาจทำให้ปมไหมขวางการทำงานของกล้ามเนื้อตา ทำให้ดูตาปรือ รู้สึกระคายเคืองตา และยังเสี่ยงปมไหมหลุดออก จนทำให้เหลือตาสองชั้นเพียงข้างเดียว ส่งผลให้ชั้นตาดูไม่เท่ากัน นอกจากนี้หากผู้ผ่าตัดไม่ชำนาญพอ ยังอาจเกิดความผิดพลาดที่ร้ายแรง เช่น ทำตาสองชั้น แต่กลับผ่าตัดกระทบโดนกล้ามเนื้อตา จนส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เลยทีเดียว

สังเกตอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

วิธีการสังเกตตัวเองว่ามีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไหม เพื่อที่จะได้ทำการตรวจ รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการศัลยกรรม ทำได้ดังนี้

  • สังเกตบริเวณหนังตา : การที่ขอบเปลือกตาบังตาดำลงมามากกว่า 2 มิลลิเมตร ฉะนั้นตาจึงดูปรือ ง่วงนอนแม้พยายามลืมตาอย่างเต็มที่

  • สังเกตการมองเห็นหรือการลืมตา : ตาดูไม่เท่ากัน ชั้นตาตก ข้างที่ตกมักจะมีชั้นตาที่หนาจากไขมัน

  • สังเกตเบ้าตา : เบ้าตาลึกกว่าปกติในผู้ที่มีภาวะหนังตาตกทั้งสองข้าง เลิกคิ้ว ย่นหน้าผาก ต้องคอยเงยหน้าเพื่อช่วยการมองเห็น

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ส่วนใหญ่มีอาการ ดังนี้

หนังตาตก        

           หนังตาตก จากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาจเป็นแต่กำเนิด หรือเป็นในภายหลังก็ได้ เด็กที่เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่เกิด จะมีลักษณะตาตก ตาปรือตลอดเวลา เพราะกล้ามเนื้อตาเปิดตาออกแรงไม่เต็มที่ สังเกตได้จากขอบตาบนจะคลุมปิดตาดำมากกว่าปกติ ในบางรายอาจมีการมองเห็นผิดปกติ เพราะหนังตาตกทับดวงตาจนบดบังการมองเห็น ทำให้เด็กชอบเอียงคอ แหงนคอ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น อาจมีหนังตาตกข้างเดียว หรือสองข้าง ตาไม่เท่ากัน ชั้นตาไม่ชัดเจน ส่วนกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อตามาเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตายืดออก จนไม่สามารถออกแรงเปิดตาได้เต็มที่ เปิดเปลือกตาได้ไม่สุด ทำให้หนังตาตกปิดทับตาดำมากกว่าปกติ ดวงตาดูปรือ ดูง่วง ไม่สดใส ตาดูไม่เท่ากัน

ลืมตาไม่ขึ้น

         กล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์ เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กเหนือเบ้าตา ทำหน้าที่ยกเปลือกตาบนขึ้น ควบคุมการลืมตา หากเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง กล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์จะสูญเสียความแข็งแรง จนไม่สามารถออกแรงลืมตาได้เต็มที่ ลืมตายาก ลืมตาไม่ขึ้น หากมองปกติ ไม่พยายามเบิ่งตา ตาจะดูปรือ คล้ายคนอดนอน บางรายเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียว อาจทำให้ตาเปิดได้ไม่เท่ากัน ดูไม่สวยงาม และส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ

ปัญหาการเลิกคิ้ว

         กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้หนังตาตกทับตาดำบางส่วน หรือทับดวงตาดำมากจนปิดรูม่านตา ทำให้การมองเห็นลดลง จนเกิดภาวะติดการเลิกคิ้ว เลิกหน้าผาก แหงนคอ หรือเอียงคอ เพื่อชดเชยภาวะเปลือกตาออกแรงยกขึ้นได้ไม่เต็มที่ จากโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้เกิดปัญหาริ้วรอยบริเวณหน้าผาก ส่วนใหญ่คนที่มีปัญหาการเลิกคิ้ว อาจพบภาวะชั้นตาไม่เท่ากัน จากการเลิกคิ้ว เบิ่งตาบ่อยๆ ได้

 

ขยี้ตาบ่อย

         ขยี้ตาบ่อย จากการล้างเครื่องสำอางรุนแรงเป็นประจำ หรือจากอาการภูมิแพ้ ที่ทำให้เกิดอาการคันบริเวณเปลือกตา จนต้องขยี้ตาบ่อยๆ ส่งผลให้เปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อยมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อตายืดออก ชั้นตาอาจกลายเป็นสามชั้น หรือเปลือกตามีลักษณะรอยพับชั้นตาเป็นริ้วๆ ทำให้ดูตาปรือกว่าปกติ อาจเป็นเฉพาะดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ได้

วิธีการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  1. บริหารกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยกลอกตาขึ้นบน แล้วลงล่าง กลอกตาไปทางขวา แล้วไปทางซ้าย ทำซ้ำ 2 รอบต่อวัน 

  2. ปรับโฟกัสดวงตา โดยการใช้ปากกาหรือนิ้วมือยื่นไปด้านหน้า ให้อยู่กึ่งกลางระหว่างดวงตาทั้งสอง และเลื่อนเข้าหาดวงตาช้าๆ เมื่อเห็นเป็นภาพซ้อนให้กลับไปเริ่มใหม่ ทำซ้ำ 20 รอบ วันละ 3 ครั้ง 

  3. *การบริหารกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ตามข้อ 1-2 เป็นประจำ ต่อเนื่องประมาณ 3 สัปดาห์ ช่วยลดอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า ตาอ่อนแรงได้ 

  4. แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยการผ่าตัดเพื่อปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา ด้วยการใช้ New Lovely Microlaser อุปกรณ์ผ่าตัดที่มีความแม่นยำและปลอดภัยสูง ช่วยให้เลือดออกน้อยระหว่างผ่าตัด และลดอาการบวมช้ำ หลังทำจะช่วยให้กล้ามเนื้อตาออกแรงเปิดตาได้เต็มที่ หายตาปรือ ตาตก ตาดูสดใสขึ้น

การเตรียมตัวในการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  • งดอาหารเสริมทุกชนิด 2 สัปดาห์

  • งดการติดสติ๊กเกอร์ตาสองชั้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์

  • งดใส่คอนแทคเลนส์ก่อนผ่าตัด 3 สัปดาห์ จนถึงหลังผ่าตัด 3 สัปดาห์

  • หากมีอาการไอ หรือท้องผูก ควรแจ้งทางคลินิกล่วงหน้าประมาณ 3 วัน

  • แจ้งคุณหมอทราบล่วงหน้า ถึงโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา ประวัติการทำตา ว่าเคยทำตามาก่อนหรือไม่

  • หลีกเลี่ยงศัลยกรรมอื่นๆ ทุกประเภท ประมาณ 1 เดือน หรือการสักคิ้วที่ยังไม่แห้ง ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

  • นำบัตรประชาชนมาในวันผ่าตัดด้วย

วิธีปฎิบัติตัวหลังศัลยกรรมกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  • หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ

  • ประคบเย็นตลอดเวลาช่วง 72 ชม แรก ต่อด้วยการประคบอุ่นเช้าเย็นจนตัดไหม

  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ทำแผลใช้ยาป้ายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

  • งดใช้สายตา ช่วง 2-3 วันแรก รวมถึง การขับรถเอง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

  • งดการออกกำลัง การยกของหนัก หรือ การเบ่งที่มากเกินไป จนกว่าจะตัดไหม

  • สำหรับยา หรือ อาหารเสริม ที่จะเริ่มกินหลังผ่าตัด สามารถสอบถามแพทย์ได้เป็นกรณีไป

  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ จนกว่าแผลจะหายดี

bottom of page